วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

งานบุญสารทเดือนสิบ



สารทเดือนสิบเมืองคอน





      

   งานบุญสารทเดือนสิบตรงกับวันแรม ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ค่ำ เดือน ๑๐ (ประมาณปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม) เป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่สำหรับชาวเมืองนครศรีธรรมราช
   



        ประเพณีสารทเดือนสิบเกิดจากคติความเชื่อว่าในบรรดาญาติพี่น้องที่ได้ล่วงลับไปแล้วนั้น ผู้ที่มีบาปมีกรรมต้องไปทนทุกข์ทรมานเป็นเปรตอยู่ในอบายภูมิ พญายมบาลผู้ทำหน้าที่ลงทัณฑ์ในยมโลกจะได้ปลดปล่อยเปรตเหล่านี้ให้มาเยือนโลกเยี่ยมลูกหลาน พร้อมทั้งรับส่วนกุศลที่ลูกหลานอุทิศให้เพียงปีละครั้ง คือในวันบุญสารทเดือนสิบ แรม ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เมื่อถึงวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ก็ต้องกลับไปรับโทษทัณฑ์ตามเดิม บรรดาผีเปรตเหล่านี้ ถ้าไม่มีใครทำบุญให้ ตอนเดินทางกลับก็จะเก็บใบไม้ใส่พกกลับไป แล้วโปรยใบไม้นั้นพลาง สาปแช่งบุตรหลานและคนในตระกูลที่ละเลยเพิกเฉยไปพลาง



            พิธีเริ่มตั้งแต่วันแรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๐ วันนี้ถือเป็นวันจ่าย บรรดาพ่อค้าแม่ขายจะนำสินค้าของตนมาจำหน่าย ทั้งของสดของแห้ง พืชผักผลไม้ และที่สำคัญกว่าอื่นคือตุ๊กตาซึ่งนิยมนำไปใส่ในหมฺรับหรือสำรับ ตลาดที่บรรดาพ่อค้าแม่ขายนิยมไปจำหน่ายสินค้า มีอาทิ ตลาดท่าม้า ตลาดท่าช้าง ตลาดคลองทา วัดใหญ่ และวัดเสาธงทอง


        วันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐ คือวันยกหมฺรับ ชาวนครศรีธรรมราชจะจัดสำรับด้วยอาหารประเภทต่างๆ ที่ขาดไม่ได้คือ ขนม ๕ อย่าง ได้แก่ ขนมพอง คือหมายจะให้เป็นแพฟ่อง ล่องลอยพาบุรพชนล่วงข้ามห้วงมหรรณพกล่าวคือสังสารวัฏ ขนมลาให้เป็นแพรพรรณเครื่องนุ่งห่ม ขนมกงหรือบางครั้งก็ใช้ขนมไข่ปลา ให้เป็นเครื่องประดับ ขนมบ้า ก็ให้บุรพชนใช้เป็นลูกสะบ้าสำหรับเล่นรับสงกรานต์ และสุดท้ายขนมดีซำ ก็ให้ไว้เพื่อเป็น

เงินเบี้ยสำหรับใช้สอย ที่ยอดสำหรับนั้นมีน้ำบรรจุไว้ในภาชนะขนาดย่อมด้วย อาหารอื่นนอกเหนือไปจากนี้จะมีในสำรับหรือไม่มีก็ได้ แต่ที่นิยมว่าควรจะมีก็ได้แก่ อาหารแห้ง เช่น ข้าวสาร ปลาเค็ม เนื้อเค็ม หอม กระเทียม พริก เกลือ น้ำตาล ตะไคร้ ข่า และพืชผลต่างๆ เช่น ข้าวโหด กล้วย มะพร้าว เผือก มัน เป็นต้น รวมไปถึงยาสามัญประจำบ้านด้วย จะเห็นได้ว่าที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นอาหารที่เก็บไว้ได้นาน ทั้งนี้เพื่อเป็นเสบียงระหว่างที่พระจำพรรษา 




        และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การจัดสำรับนั้นนอกจากจะมีสิ่งของครบแล้ว รูปแบบการตกแต่งสำรับก็เป็นเรื่องที่คนเมืองนครไม่มองข้าม ต่างคนจะต่างจัดสำรับเป็นรูปแบบต่างๆตามที่ถนัดและเห็นงาม แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปอะไรก็ตาม สำรับต้องมียอดสูงแหลมขึ้นไปเสมอ



            






           การถวายหมฺรับแก่พระสงฆ์นั้น ใช้วิธีจับสลากที่เรียกว่า “สลากภัต” เมื่อพระภิกษุจับสลากอาหารได้แล้ว ก็จะมอบต่อให้ลูกศิษย์เก็บไว้ แล้วค่อยนำมาประเคนเป็นมื้อๆต่อไป เนื่องจากพระภิกษุนั้นจะสะสมอาหารไว้เองไม่ได้


          เมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ก็จะมีพิธีหมฺรับรับตายายา คือนำอาหารไปวางไว้ตามใต้ต้นไม้หรือริมกำแพงวัดสำหรับผีไม่มีญาติ เมื่อพระสวดบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลเรียบร้อยแล้ว เด็กๆรวมทั้งผู้ใหญ่ที่เฝ้ารอก็จะกรูเข้าไปแย่งชิงอาหารในหมฺรับหรอสำรับที่ชาวบ้านนำมาวางไว้ ด้วยเชื่อว่าอาหารเหล่านี้กินแล้วได้กุศลแรง พิธีนี้เรียกว่าพิธี “ชิงเปรต”

















   ทว่าปัจจุบันเห็นกันว่าการแย่งชิงสิ่งของอย่างเปรตดูไม่งาม และบางครั้งเด็กก็เสียเปรียบเพราะแย่งสิ่งของได้ไม่ทัน เพื่อให้เกิดความเรียบร้อย และได้รับสิ่งของกันอย่างทั่วถึง จึงเปลี่ยนเป็นให้ตั้งแถวเพื่อรอรับสิ่งของอย่างมีระเบียบแทน














ประเพณีแห่หมรับ 






พิธีชิงเปรต









วิดีโอสัมภาษณ์



Creative Commons License


This work is licensed under a Creative Commons Attribution 3.0 Thailand License.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น